ใบรับรองการทำงาน

มาทำความรู้จักกับ ‘หนังสือรับรองการทํางาน’ กันดีกว่า

สำหรับหนุ่ม – สาว ชาวออฟฟิตยุคใหม่ ที่พึ่งเรียนจบมาหมาดๆ แล้วพึ่งเข้าทำงานในบริษัทแห่งหนึ่ง โดยไม่รู้ว่า

ใบรับรองการทำงาน

เอกสารที่ตนสมควรได้รับและจำเป็นต้องใช้ในภายภาคหน้า นั้นมีอะไรบ้าง วันนี้เราจะมาแนะนำอีกหนึ่งเอกสารสำคัญซึ่งหลายๆคนอาจเคยได้ยินชื่อ แต่ไม่รู้ว่ามันมีประโยชน์อย่างไร

‘หนังสือรับรองการทํางาน’ เอกสารสำคัญที่คุณอาจจำเป็นต้องใช้

‘หนังสือรับรองการทํางาน’ เป็นเอกสารที่มีการบรรยายถึงตำแหน่งหน้าที่ รวมทั้งมีการประเมินผล , ความประพฤติ ต่างๆของคุณ จากเจ้านาย โดนถ้าคุณเป็นคนพิจารณารับคนทำงาน และคุณก็อยากรู้ว่าผู้สมัครคนนี้มีทักษะเป็นอย่างไร มีความประพฤติดีไหม ก็จะใช้ ‘หนังสือรับรองการทํางาน’ นี่แหละเป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักในการนำมาตัดสินใจ พนักงานส่วนใหญ่จะขอใบนี้จากฝ่ายบุคคล ตอนลาออกจากบริษัทเดิมแล้วนำใบนี้ไปสมัครแห่งใหม่ หรือตอนเปลี่ยนเจ้านาย รวมถึงนำไปเป็นเอกสารประกอบการกู้เงิน หรือ ยื่นขอ VISA ไปต่างประเทศ อีกด้วย

ตามแล้วปกติเมื่อพนักงานคนใด เกิดลาออกจากบริษัท ก็จำเป็นต้องขอหนังสือรับรองการทำงานใบนี้ด้วย ซึ่งสำหรับบางคนจะเรียกใบนี้ว่า ‘ใบผ่านงาน’ และนำมาเก็บไว้เป็นหลักฐาน ว่าตนเคยทำงานกับบริษัทนี้ เริ่มตั้งแต่เมื่อไหร่และจบลงเมื่อไหร่ , ทำในตำแหน่งไหน , เพื่อนำไปเป็นหลักฐานอ้างอิง ในการนำไปสมัครงานในบริษัทแห่งใหม่ต่อไป ทั้งนี้บริษัทส่วนใหญ่ก็จะมีการกำหนดเรื่องการออกหนังสือรับรองการทำงาน ไว้อย่างเป็นมาตรฐาน เมื่อมีพนักงานคนใดลาออก ฝ่ายบุคคลก็จะออกหนังสือรับรองให้อย่างอัตโนมัติ แต่อย่างไรก็ตามสิ่งที่พนักงานรุ่นใหม่ควรระวังไว้ให้ดีคือ บางบริษัทก็ยังไม่ทำเรื่องนี้ให้ออกมาเป็นระบบ คือ จำเป็นต้องรอให้พนักงานมาร้องขอทางฝ่ายบุคคลเอง ก่อน มิฉะนั้นก็จะไม่ออกให้ ขอให้คุณตรวจทานเอกสารให้ดีๆ เพื่อประโยชน์ของตัวคุณเอง

นอกจากนี้ยังมีอีกกรณีหนึ่ง คือ ถ้ามีพนักงานถูกไล่ออกเพราะทำผิดกฎบริษัท เช่น ทุจริตลักขโมยทรัพย์สิน , เกิดเรื่องทะเลาะวิวาทชกต่อยทำร้ายร่างกายคนในบริษัท หรือขาดเกิน 3 วัน โดยบริษัทติดต่อไม่ได้ เป็นต้น กรณีออกอย่างเลวร้ายเช่นนี้ หลายๆคนคงเกิดคำถามว่าแล้วทางบริษัทยังคงต้องออกใบรับรองให้อยู่หรือไม่ คำตอบที่ถูกต้องตามกระบวนของกฎหมาย คือ ‘ต้องออก’ ด้วย ปพพ.มาตรา 585 บริษัทจะต้องออกหนังสือรับรองให้กับพนักงานที่พ้นสภาพทุกกรณี โดยในหนังสือรับรองให้บริษัทระบุเพียงแค่เรื่องหลัก ๆ ตามที่กฎหมายกำหนดไว้เท่านั้น เช่น เข้ามานี้บริษัทเมื่อไหร่ถึงเมื่อไหร่ , ทำในตำแหน่งอะไร เป็นต้น บริษัทก็ไม่มีสิทธิระบุรายละเอียดเกินตามกฎหมายกำหนด เช่น เลิกจ้างเนื่องจากทุจริต เป็นต้น เพราะจะไม่ถูกตามกฎหมาย